ข่าวออนไลน์

เปรียบเทียบคนดำกับคนขาว (คนดำทำอะไรก็ผิด)

ในปัจจุบันแม้สหรัฐอเมริกาจะได้ขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพ ทุกคนมีสิทธิอย่างเต็มที่ การฟ้องร้องกันเพื่อรักษาสิทธิของตนจึงทำกันเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงนั้นกลุ่มคนผิวขาวบางกลุ่มยังคงมีแนวคิดในการเหยียดสีผิว ฝังอยู่ในจิตใจ เช่นกลุ่มเคเคเค หรือชื่อเต็มว่าคูคลั๊กคลันซึ่งเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดเหยียดผิวอย่างรุนแรง มองคนผิวสีว่ามีอารยธรรมล้าหลัง เกิดมาเพื่อถูกใช้แรงงานเป็นทาส คนกลุ่มนี้จึงเหยียดหยาม กลั่นแกล้งทำร้ายต่างๆนานา หรือการกีดกันไม่ให้คนผิวสีได้รับบริการขั้นพื้นฐานจากรัฐด้วย หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีหน้าที่ดูแลความสงบเองก็มีข่าวออกมาว่าขณะ จับกุมหรือในขั้นตอนการสอบสวนมีทำร้ายผู้ต้องหาคนผิวสีโดยไม่มีเหตุผลสมควร ซึ่งไร้มนุษยธรรม แสดงให้ถึงเชื้อไฟแห่งการเหยียดผิดยังคงคลุกรุ่นอยู่และพร้อมที่จะรุกโชน ขึ้นมาอีกครั้งหากถ้ามีชนวนความขัดแย้งเกิดขึ้น
 

          จากเหตุผลที่คนผิวขาวที่มีแนวคิดในการเหยียดผิวใช้อ้างเพื่อ เหยียดผิวนั้น จะเห็นได้ว่าเหตุผลเหล่านี้เกิดจากการกระทำของคนผิวขาวเองที่ไปกระทำหรือ ความคิดให้คนผิวสีให้เป็นอย่างนั้น เช่นหาว่าพวกผิวดำไร้การศึกษา เป็นอาชญากร เป็นโสเพณี ค้ายาบ้าง แต่ก็เป็นเพราะคนผิวขาวมิใช่หรือที่กีดกันเขาไม่ให้ได้รับการศึกษาอย่างที่ ควรจะเป็น เด็กผิวสีมักจะถูกเด็กผิวขาวกลั่นแกล้งรังแกอยู่เสมอจนทนไม่ได้ต้องย้าย โรงเรียนไป และในบางครั้งโดยอาจจะถูกรังแกหรือเอาเปรียบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเช่น อาจารย์ ภารโรง ถ้าปัญหาเหล่านี้นังเกิดขึ้นอยู่ก็อาจทำให้เค้าเลิกเรียนไปเสียเลยก็ได้ เมื่อไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างที่ควรจะเป็น หลู่ทางที่เค้าจะประกอบอาชีพอย่างสุจริตได้จึงน้อยลง
          ความเป็นมาของคนผิวดำใน ดินแดนอันสุดแสนเสรีนี้มาแบบไร้ค่า มาแบบทรมาณ หลังการยึดครองดินแดนของเผ่าอินเดียนแดงต่างๆด้วยการขับไล่ เข่นฆ่า และกักขังแล้ว เมื่อเริ่มต้นสร้างบ้านแปลงเมือง คนอังกฤษที่เพิ่งเข้ามาอยู่นี้ ขาดแรงงานเป็นอย่างมาก เพราะอินเดียแดงที่มีอยู่นอกจากจะหัวแข็งไม่สวามิภักดิ์ ปราบยากแล้ว ยังตายไปเสียเยอะมาก ฉะนันการที่อังกฤษมีดินแดนอาณานิคมอยู่ในแถบแอฟริกาใต้ อย่างเคนย่า และที่อื่นๆ กลับกลายเป็นผลประโยชน์เพิ่มมาอีกอย่างหนึ่ง (ผล ประโยชน์เดิมของดินแดนเหล่านี้คือพื้นที่และแรงงานในการเพาะปลูก กล่าวคือ เมื่อยึดบางดินแดนในแถบแอฟริกาได้ อังกฤษก็ได้ใช้พื้นที่เหล่านี้ในการเพาะปลูกชา กาแฟ  ทำการ ตลาดแข่งกับอินเดีย ซึ่งภายหลังก็ยึดอินเดียไปเสียอีกประเทศหนึ่ง ฉะนั้นอังกฤษจึงเป็นชาติที่มีพื้นที่เล็กๆแต่สามารถส่งออกชา กาแฟ และฝิ่นได้ เพราะใช้พื้นที่ของ อาณานิคมเป็นไร่เป็นแรงงานของตนโดยปริยาย) ฉะนั้นหลังจากยึดครองดินแดนโลกใหม่ได้ คนผิวดำกลับกลายมาเป็นแรงงานทาส เพื่อสร้างสิ่งก่อสร้างในดินแดนใหม่นี้เอง ทางเลือกของคนผิวสีในตอนนั้นคือ ทำต่อไป กับ ความตาย
         จากความเป็นมาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าคนผิวสีได้ถูกคนผิวขาวนำมา ใช้เป็นแรงงานทาส โดยใช้เหตุผลที่เค้าว่าคนผิวขาวมีอายธรรมเจริญกว่า ประกอบกับทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาวิน ที่ว่าสิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงกว่าจึงจะสามารถอยู่รอด และสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอกว่าจะตายไป เพื่อหวังผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของดินแดนเหล่านั้นจึงเกิดดารล่าอนา นิคมของชาติมหาอำนาจ และยังบังคับให้ชนพื้นเมืองมาเป็นทาสในฐานะที่ตนมีอารยธรรมสูงกว่า ซึ่งเป็นรากฐานของการหยีดผิวในปัจจุบัน

        การกระทำเหล่านี้เป็นการปฏิเสธศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคน ผิวสีโดยสิ้นเชิง เพราะในเมื่อเขาเกิดมาเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน เขาก็ควรมาสิทธิตามธรมมชาติที่เหมือนกัน ซึ่งได้แก่สิทธิในร่างกาย อนามัย ชีวิต เป็นต้น การกีดกันพวกเขาออกจากสิทธิเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งในปัจจุจบันก็แสดงให้เห็นแล้วว่าศักยภาพของคนผิวสีไม่ได้ด้อยไปกว่าคน ผิวขาวเลย จะเห็นได้จากในอาชีพต่างๆไม่ว่าจะเห็นนักแสดง นักร้อง นักธุรกิจ ในระดับโลกล้วนแต่มีคนผิวสีรวมอยู่ด้วยทั้งนั้น เช่น Jamie Foxx, Morgan Freeman, Oprah Winfrey เป็นต้น
        ผู้เขียนคาดว่าสถานการณ์การเหยียดผิวที่ยังเหลืออยู่ในสหรัฐจะมี แนวโน้มไปในทาง ที่ดีขึ้นในเรื่องนี้จะดี จากการที่ประธานาธิปดีคนล่าสุดคือนายบารัค โอบรามา ซึ่งเป็นประธานาธิปดีผิวสีคนแรกของสหรัฐ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าในสังคมสหรัฐได้ให้การยอมรับว่าคนผิวสีมีความเสมอ ภาค มีศักยภาพและความสามารถได้เท่าเทียมกับคนผิวขาวเช่นกัน
----------------------------------------------------------------------------------------------
เนลสัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 95 ปี โดยเป็นหนึ่งในผู้ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในแอฟริกาใต้ ต่อต้านนโยบายแบ่งแยกสีผิว ถูกจองจำนานถึง 27 ปี กระทั่งได้รับการปล่อยตัวและชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของแอฟริกาใต้
  

เนลสัน แมนเดลา ในวันที่ได้รับการปล่อยตัวเมื่อ 12 ก.พ. 2533 หลังถูกจองจำมานานกว่า 27 ปี (ที่มา: หนังสือพิมพ์ The Weekly Mail, February 12 1990)


เนลสัน แมนเดลา ในปี 2551 (ที่มา: วิกิพีเดีย)

6 ธ.ค. 2556 - เมื่อคืนวันที่ 5 ธ.ค. ตามเวลาท้องถิ่นของแอฟริกา ประธานาธิบดียาค็อป ซูมา แห่งแอฟริกาได้ ได้ประกาศว่าอดีตประธานาธิบดีแอฟริกาเนลสัน แมนเดลา เสียชีวิตแล้ว ที่บ้านพักของเขาในเมืองโจฮันเนสเบิร์ก สิริอายุ 95 ปี ทั้งนี้ อัลจาซีรารายงานว่า อดีตประธานาธิบดีแมนเดลาต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่า 3 เดือน เพื่อรักษาอาการติดเชื้อในปอด

นักเรียนกฎหมายวัยหนุ่มและการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในแอฟริกาใต้
แมนเดลาเป็นบุคคลสำคัญในขบวนการการต่อต้านนโยบาย Apartheid หรือนโยบายแบ่งแยกสีผิว ทั้งนี้เขาเกิดเมื่อปี 2461 ที่เมืออุมตาตู ในครอบครัวของผู้ปกครองเผ่าเทมบู ในแคว้นทรานสไก แมนเดลาได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากที่มหาวิทยาลัยฟอร์ตแฮร์ (Fort Hare University) และมหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สรันด์ (University of Witwatersrand) ที่โจฮันเนสเบิร์ก และที่เมืองนี้เอง ทำให้เขาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองแนวต่อต้านอาณานิคมร่วมกับขบวนการ สมัชชาแห่งชาติแอฟริกา หรือ ANC และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตเยาวชนของ ANC
อย่างไรก็ตามภายหลังที่พรรคชาตินิยมชนะการเลือกตั้งในปี 2491 และเริ่มนโยบายแบ่งแยกสีผิว แมนเดลาเป็นผู้นำสำคัญในแคมเปญของ ANC เพื่อต่อต้านนโยบายดังกล่าว และในปี 2495 ได้รับเลือกเป็นประธานสาขาของ ANC ที่ทรานสวาล (Transvaal) และเข้าร่วมสมัชชาประชาชนเมื่อปี 2498
ทั้งนี้ แมนเดลากับเพื่อนนักกฎหมายคือ โอลิเวอร์ แทมโบ ได้เปิดสำนักกฎหมาย "Mandela and Tambo" ขึ้น เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ชาวแอฟริกันผิวสีในราคาต่ำหรือไม่คิดมูลค่า อย่างไรก็ตามเขามักจะถูกจับในข้อหาปลุกปั่น ทั้งนี้แม้ว่า แมนเดลา จะบอกว่าเขานั้นได้รับอิทธิพลการต่อสู้ในเชิงสันติอหิงสาจากมหาตมะ คานธี และพยายามผูกมิตรกับเหล่านักการเมืองเชื้อชาติอื่นทั้งคนผิวขาวและคนผิวสี
อย่างไรก็ตามภายหลังเหตุการณ์สังหารที่ชาร์ปเพวิลล์ (The Sharpeville massacre) ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 69 คนจากการประท้วงที่สถานีตำรวจของเมือง ในเดือนมีนาคมปี 2503 ทำให้ ANC ตัดสินใจต่อต้านนโยบาบแบ่งแยกสีผิวด้วยการใช้กำลังอาวุธ โดยในปี 2504 แมนเดลาก่อตั้งและขึ้นเป็นผู้นำกลุ่ม "Umkhonto we Sizwe" หรือ "หอกแห่งชาติ" ซึ่งเป็นฝ่ายติดอาวุธของกลุ่ม ANC เพื่อต่อต้านนโยบายแบ่งแยกสีผิวด้วยการใช้กำลังอาวุธ "คนของพวกเราเป็นนักสู้เพื่อเสรีภาพที่ถูกฝึกมาอย่างดี ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย" เนลสันกล่าวไว้ในแถลงการณ์เมื่อปี 2513 ว่า
"พวกเรากำลังต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย การปกครองโดยคนหมู่มาก เพื่อสิทธิของชาวแอฟริกันที่จะได้ปกครองแอฟริกา พวกเรากำลังต่อสู้เพื่อแอฟริกาใต้ อันจะนำมาซึ่งความสงบสุข ปรองดอง และให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน"
ต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม 2505 เขาและแกนนำคนอื่นๆ ถูกจับกุม และถูกตั้งข้อหาก่อวินาศกรรมและโค่นล้มรัฐบาลด้วยการใช้กำลัง ทั้งนี้เขาถูกจำคุกเป็นเวลา 27 ปี
อย่างไรก็ตามมีการรณรงค์ในต่างประเทศกดดันให้รัฐบาลแอฟริกาใต้ในขณะนั้น ปล่อยตัวเนลสัน แมนเดลาและผู้ถูกจับกุม และมีรัฐบาลหลายประเทศที่คว่ำบาตรนโยบายเหยียดผิวของแอฟริกาใต้ โดยเหตุการณ์รณรงค์ที่สำคัญครั้งหนึ่งคือการจัดคอนเสิร์ตที่สนามเวมบลีย์ใน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ 11 มิถุนายน 2531 ในโอกาสวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 70 ปีของแมนเดลาในวันที่ 18 กรกฎาคม และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวแมนเดลาและเพื่อน โดยมีการถ่ายทอดสดไป 67 ประเทศทั่วโลก มีผู้ชม 600 ล้านคน อย่างไรก็ตามในสหรัฐอเมริกา สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ได้เซ็นเซอร์บางช่วงของคอนเสิร์ตที่มีเนื้อหาที่เกี่ยว ข้องกับการเมือง

ได้รับการปล่อยตัว และการปรองดองแห่งชาติ
กระทั่งในปี 2533 หลังแอฟริกาใต้มีการเปลี่ยนประธานาธิบดีคนเก่าซึ่งป่วยหนัก มาเป็น เฟรเดอริค วิลเลม เดอ เคลิร์ก นโยบายเหยียดผิวในแอฟริกาใต้เริ่มผ่อนปรน โดยเดอ เคลิร์ก ได้ประกาศปล่อยตัวแมนเดลาเป็นอิสระในเดือนกุมภาพันธ์ 2533
ทั้งนี้เดอ เคลิร์ก และแมนเดลา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพร่วมกันในปี 2536 จากบทบาทสำคัญของทั้งสองในการยุติยุคแห่งการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้
และภายหลังได้รับการปล่อยตัว แมนเดลากลับมามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยสำหรับทุกเชื้อ ชาติในแอฟริกาใต้ และได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก หลังการเลือกตั้งทั่วไป 27 เมษายน 2537 และเขาได้ตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ โดยมีเดอ เคลิร์ก และทาโบ อึบแบกีเป็นรองประธานาธิบดี ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดสีผิว และได้ริเริ่มโครงการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน หรือ (RDP) เพื่อสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนหลังสิ้นสุดยุคแบ่งแยกสีผิว
หลังจากนั้นอีก 5 ปีเขาได้ลงจากอำนาจ แต่ยังมีบทบาทสำคัญอื่นๆ อาทิเป็นผู้รณรงค์ต่อสู้ในประเด็นเรื่องโรคเอดส์ และสนับสนุนให้แอฟริกาได้สิทธิเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในปี 2553 นอกจากนี้ยังคงมีบทบาทในการเจรจาสันติภาพในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และประเทศอื่นๆ ในแอฟริกา
ทั้งนี้ แมนเดลาอำลาการเมืองในปี 2547 ด้วยวัย 85 ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวและเพื่อน โดยไม่ค่อยออกงานสังคมมากนัก ยกเว้นการปรากฏตัวของเขาในพิธีปิดการแข่งขันฟุตบอลโลกที่แอฟริกาใต้ในปี 2553


ที่มา: youtube